วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย

สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอยเมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรสารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนกระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไปเซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไปก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตรข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร

สาร
1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด
1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่า ของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก
2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้
2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น
2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
ก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้น
ข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


พระธาตุดอยเวาแม่สาย
วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง