มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย
เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ
สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
สัญลักษณ์ประจําจังหวัดสุโขทัย
พ่อขุนรามคําแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังคศิลา
คําขวัญประจําจังหวัด
ถิ่นกําเนิดอักษรไทยงานใหญ่ ลอยกระทงมั่นคงพุทธศาสนา พระแม่ย่ามี่งเมือง อดีตรุ่งเรืองคือ เมืองสุโขทัย ความหมายของตราประจำจังหวัด
ภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงค์ สุโขทัยทรงประทับบนแท่นมนังคศิลาปกครองไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและทรงบริหารราช อาณาจักรแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองที่สุดระยะหนึ่งในอดีต พงศาวดารเหนือและโยนกกล่างว่า พญาพาลีราชเป็นผู้สร้างและ ครองเมืองนี้อยู่เมื่อพ.ศ. 1043 เมือง สุโขทัย เคยเป็นราชธานี ของไทย อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1800-1890
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรมกิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง
ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้
ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม
ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล
ไฟพะเนียงสอบถามรายละเอียดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
พระธาตุดอยเวาแม่สาย
วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง
วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น