วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมโลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อนสมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุวัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดีใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดีใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุวัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย
เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ
สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
สัญลักษณ์ประจําจังหวัดสุโขทัย
พ่อขุนรามคําแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังคศิลา
คําขวัญประจําจังหวัด
ถิ่นกําเนิดอักษรไทยงานใหญ่ ลอยกระทงมั่นคงพุทธศาสนา พระแม่ย่ามี่งเมือง อดีตรุ่งเรืองคือ เมืองสุโขทัย ความหมายของตราประจำจังหวัด
ภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงค์ สุโขทัยทรงประทับบนแท่นมนังคศิลาปกครองไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและทรงบริหารราช อาณาจักรแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองที่สุดระยะหนึ่งในอดีต พงศาวดารเหนือและโยนกกล่างว่า พญาพาลีราชเป็นผู้สร้างและ ครองเมืองนี้อยู่เมื่อพ.ศ. 1043 เมือง สุโขทัย เคยเป็นราชธานี ของไทย อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1800-1890
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรมกิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง
ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้
ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม
ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล
ไฟพะเนียงสอบถามรายละเอียดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เขียนโดย เด็กชายจเร เขาวิเศษ 1/3 โรงเรียนเมืองเชลียง ที่ 7:29 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันศุกร์, สิงหาคม 14, 2009

สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย
สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอยเมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรสารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนกระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไปเซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไปก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตรข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตรสาร1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่า ของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้นข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน
เขียนโดย เด็กชายจเร เขาวิเศษ 1/3 โรงเรียนเมืองเชลียง ที่ 5:20 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)
จอห์น เบียร์ด
ประวัติ
จอห์น โลกี้ เบียร์ด เกิดในปีค.ศ.1888 เป็นบุตรชายของเสมียนที่เข้มงวด ในวัยเด็กเขามักจะเจ็บป่วยเสมอ และไม่ชอบไปโรงเรียนแต่กลับชอบประดิษฐ์ สิ่งต่างๆอาทิเช่นเครื่องร่อนที่ทำให้เขาบาดเจ็บเพราะตกจากหลังคาบ้านหลัง จากเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าจากกลาสโกว์แล้วก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิศวกร อยู่พักหนึ่ง ก็ต้องออกจากงานเพราะหยุดงานบ่อยครั่งเนื่องจากอาการป่วย จึงทำการหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่น อาทิเช่นทำของขาย เช่น แยม และสบู่ แต่ก็ ประสบความล้มเหลว แรงบันดาลใจให้จอห์น เบียร์ด คิดสร้างโทรทัศน์ ก็เนื่องจากการที่กูกิเอลโม มาร์โคนีได้ประดิษฐ์เครื่องสัญญาณและรับสัญญาณ วิทยุทางไกลเป็นผลสำเร็จ ความคิดนี้ทำให้เบียร์ด จินตนาการถึงการส่งภาพ ด้วยคลื่น วิทยุขึ้นมาบ้างนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบว่าเมื่อแสงตกลงบนวัตถุ ที่ไวต่อแสงที่เรียกว่า ซีเลเนี่ยม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าแสงสว่างมาก ขึ้นกระแสไฟฟ้าก็แรงขึ้นด้วย ภาพถ่ายที่ดีมักจะมีบริเวณสว่างและเงาที่มี ความเข้มต่างๆ กัน ดังนั้นถ้านำภาพถ่ายมาวางใกล้แผ่นซีเลเนียมและลำแสง ส่องไปยังภาพถ่ายและเคลื่อนที่ไปทั่วๆ ภาพ ส่วนสว่างและมืดของภาพจะทำให้ เกิดกระแสไฟฟ้ากำลังต่างๆ กันจากแผ่นซีเลเนียมวิธีการนี้เรียกว่า กวาดภาพจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะป้อนไปยังเครื่องแปลงสัญญาณจับสัญญาณ เหล่านี้แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงอีก ทำให้เกิดภาพเดิมขึ้นอีก วิธีนี้เป็นการ ผลิตภาพนิ่งซึ่งเป็นวิธีที่หนังสือพิมพ์ได้รับภาพข่าวจากทั่วโลก แต่สำหรับ โทรทัศน์ภาพต้องมีการเคลื่อนไหว เราได้อ่านวิธีการทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ในภาพยนตร์ที่ฉายบนจอโดยการฉายภาพหลายๆ ภาพติดต่อกันให้มีความเร็ว พอที่ตามนุษย์จะมองไม่เห็นรอยต่อระหว่างภาพทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นภาพที่ต่อเนื่องในโทรทัศน์ก็ใช้วิธีการเดียวกันนั้น แต่มีปัญหาที่ว่าต้อง กวาดภาพไป และเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนสัญญาณและเปลี่ยนกลับ เป็นภาพซึ่งต้องทำให้ได้ 20 ภาพต่อวินาที เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวนั้น ต่อเนื่องกัน เบียร์ดทำงานในห้องนอน เขาสร้างเครื่องโทรทัศน์เป็นเครื่อง แรกในปีค.ศ.1925 และกวาดภาพด้วยจานใบหนึ่งซึ่งเขาเจาะรูหลายๆ รูแล้ว หมุนจานอย่างเร็วบนแกนซึ่งใช้เข็มถักไหมพรม เขาฉายแสงไปบนจานที่ หมุนทำให้ส่องภาพไปตามลำดับและเปลี่ยนแสงเล่านั้น ให้เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับให้เป็นภาพในเครื่องรับสัญญาณว่างอยู่ห่างจาก เครื่องส่งเพียง 1 เมตรกว่า หลังจากการทำงานนี้ไม่นานเขาก็เดินทาง ไปร้านเซลฟริดจ์ในลอนดอนแล้วสาธิตให้เจ้าของชม ในปีค.ศ.1925 เจ้าของร้าน ทำสัญญาจ้างให้เขาออกโทรทัศน์วันละ 3 รายการในร้านภาพที่เห็นไม่ชัดนัก แต่เครื่งก็ทำงานได้ และประขาสชนให้ความสนใจ ในปีต่อมาเขาสาธิตให้ หนังสือพิมพ์ชม จากนั้นเขาไปยัง บีบีซี และถึงแม้ว่าภาพของเขาจะไม่ ชัดเจนแต่บีบีซีก็ให้กำลังใจสนับสนุน ในปีค.ศ.1929 มีรายการโทรทัศน์ของบีบีซีส่งออกอากาศ และเริ่มถ่ายทอด การแสดงละครทางโทรทัศน์ในปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแข่ง ม้าเดอร์บี้ทางโทรทัศน์ในกรุงลอนดอน จอห์น เบียร์ด ถึงแก่กรรมด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ขณะที่เขากำลังคิดและพัฒนาในการส่งภาพเป็นสีในปีค.ศ.1946
ผลงาน
-เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของโลก

หลุยส์ ปาสเตอร์
เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย
ผลงาน
-ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์-ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า


อัลเบิรต์ ไอสไตน์
ประวัติ
ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้งชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955
ผลงาน
-เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"-เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์-ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921


เซอร์ ไอแซค นิวตัน
ประวัติ
เซอร์ไอแซค นิวตันเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษมในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุได้ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจจะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ นิวตันเป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ ปี 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้พอเกิด โรคระบาด มหาวิทยาลัยปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลา ต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่น การสัเกตการหล่นของผลแอปเปิ้ล ที่ให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และต่างๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนที่ไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่า ไม่มีสีหรือที่เรียกว่ามีสีขาวเกิดจากสีรุ้งนั่นเอง นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน และมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตี พิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง แล้วกล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุคจึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย นิวตันยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิดเหรียญที่ใช้กันในประเทศถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิด บางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสคร์ เชื่อในทฤษฏีที่ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะเช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตัน ผู้คนมีเชื่อกันเช่นนี้มาก ซึ่ง ในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลอง วิทยาศาสตร์และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรารดาศักดิ์เป็นท่าน " เซอร์"เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้วเซอร์ ไอแซคนิวตัน ถึ่งแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอ่ยู่ แม้ว่ามทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็น บุคคลสำคัญคนหนี่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์
ผลงาน
-เป็นผู้พบแรงดึงดูดของโลก-เป็นผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอย

สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอยเมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรสารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนกระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไปเซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไปก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตรข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร

สาร
1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด
1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่า ของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก
2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้
2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น
2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
ก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้น
ข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน

พระธาตุดอยเวาแม่สาย
วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง